วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เพราะเหตุใดประชากรจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว...


เพราะเหตุใดประชากรจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว...
มนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมบน จะพบว่าในปัจจุบันมีจำนวนประชากรมากเศรษฐกิจก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นผลต่อสภาพแวดล้อมทั้งในด้านบวกและลบ ในปัจจุบันจำนวนประชากรในประเทศไทยมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากปัญหาการไม่รู้จักคุมกำเนิด ขาดความรู้ในเรื่องของการคุมกำเนิดเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ทำให้มีบุตรหลายคนอย่างในอดีตซึ่งเป็นสาเหตุของการทำให้จำนวนประชากรเกิดความหนาแน่นมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและจะทำให้เกิดปัญหาไร้ที่อยู่อาศัยเพราะจำนวนคนเยอะขึ้นทำให้ที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอ เกิดปัญหาชุมชนแออัดในสลัม ปัญหาคนจรจัดไร้ที่อยู่อาศัย ปัญหาคนขอทานซึ่งส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจเมื่อจำนวนประชากรมากคนก็ตกงาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต่างก็มีสาเหตุเดียวกันทั้งสิ้นคือเกิดจากจำนวนของประชากรที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆปี ในปัจจุบันจึงมีการรณรงค์ให้มีการคุมกำเนิดและรู้จักป้องกันการตั้งครรภ์เพื่อไม่ให้จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นและส่งผลในด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในประเทศยังคงอยู่ไม่สูญหายเพราะจำนวนประชากรเยอะทำให้ทรัพยากรลดน้อยลงมีคนใช้มากแต่ทรัพยากรมีเท่าเดิมจากการเพิ่มประชากรและการกระจายตัวของประชากรเป็นผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร มนุษย์ก็ย่อมต้องการทรัพยากรมาใช้มากขึ้นซึ่งมองเห็นได้ชัดในประเทศไทย
จำนวนประชากรที่เพิ่มอย่างคงที่
จำนวนประชากรในประเทศไทยมีการเพิ่มขึ้นอย่างคงที่ต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในด้านปริมาณของอาหารมีไม่เพียงพอต่อจำนวนคน มีที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอ ยังก่อให้เกิดขยะของเสียมากมาย และเกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งถ้าหากมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นก็จะมีการใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น ในอนาคตทรัพยากรอาจจะมีน้อยลงเพราะประชากรมีการเพิ่มขึ้นอย่างคงที่ทุกๆปี

จำนวนของประชากร จำแนกตามภาค พ.ศ. 2545-2552
ความหนาแน่นของประชากร จำแนกตามภาค พ.ศ. 2545-2552
     
                                             จำนวน(1000 คน)


กราฟแสดงจำนวนประชากรทั่วราชอาณาจักรในประเทศไทยจะพบว่าจำนวนประชากรตั้งแต่ พ.ศ. 2545-2552 มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นในช่วง ปี 2546 จำนวน63,079.8 คน แต่ลดลงในปี 2547 เหลือเพียง 61,973.6 คน มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548-2552 มีจำนวน 62,418.1 , 62,828.7 , 63,038.3 , 63,389.8 , 63,525 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าจำนวนประชากรในประเทศไทยมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องคงที่และในอนาคตคาดว่ามีแนวโน้มของประชากรเพิ่มขึ้น

ความหนาแน่นของประชากร
ประเทศไทยมีประชากรหนาแน่นและมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งจะจำแนกออกให้เห็นได้อย่างชัดเจน จำแนกออกเป็นภาคดังนี้ ภาคกลางเป็นภาคที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงในประเทศเพราะคนจากต่างจังหวัดจะเข้าไปทำงานในภาคกลาง จึงมีคนอาศัยอยู่จำนวนมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีความหนาแน่นของประชากรรองลงมาจากภาคกลาง ถึงแม้ว่าจะมีพื้นที่ขนาดกว้างแต่มีจำนวนที่อาศัยอยู่ไม่มากนักเพราะมีการอพยพเข้าในเมืองหลวงเป็นจำนวนมาก ภาคใต้ ถือว่าเป็นภาคที่มีความหนาแน่นของประชากรค้อนข้างมากอีกภาคหนึ่ง แม้จะเป็นภาคที่มีพื้นที่ไม่ใหญ่ แต่ภาคใต้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคนสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จึงมีความหนาแน่นของประชากรสูง ภาคเหนือเป็นภาคที่มีจำนวนความหนาแน่นของประชากรที่น้อย เพราะเป็นภาคที่มีพื้นที่น้อยและเป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่น้อยเมื่อเทียบกลับภาคอื่นๆ และที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดสูงสุดในประทศไทยคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่น้อยแต่มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่มาก และก่อให้เกิดปัญหาตามมา
                         ( คน / ตร.กม )
กราฟแสดงความหนาแน่นของประชากรแยกเป็นภาค ตั้งแต่ปี 2550-2552 พบว่าความหนาแน่นในกรุงเทพมหานครมีจำนวนประชากรอาศัยอยู่มากที่สุด รองลงมาเป็นภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ ที่กรุงเทพมหานครมีจำนวนความหนาแน่นมากที่สุดเพราะประชากรต่างจังหวัดอพยพเข้าไปทำงานในเมืองหลวงเป็นจำนวนมาก ในปี2550 ในกรุงเทพมหานครมีความหนาแน่น 3,643.9 ภาคกลาง 150.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 126.7 ภาคใต้ 121.6 ภาคเหนือ70 (คน/ตร.กม) ปี2551 กรุงเทพมหานครมีความหนาแน่น 3,640.5 ภาคกลาง152.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 127.0 ภาคใต้ 123.6 ภาคเหนือ70 (คน/ตร.กม)  ปี 2552 กรุงเทพมหานครมีความหนาแน่น 3,635.2 ภาคกลาง153.8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 127.3 ภาคใต้124.6 ภาคเหนือ69.4 (คน/ตร.กม) 
กราฟแสดงการเปรียบเทียบประชากรในกรุงเทพมหานครกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

              จำนวน(1000 คน)
กราฟแสดงให้เห็นว่าผลรวมของจำนวนประชากรในปี 2547-2552มีจำนวนประชากรในกรุงเทพมหานคร34,119 คน ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนประชากร 218,297 คน สรุปได้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าในกรุงเทพมหานครแต่ในกรุงเทพมหานครจะมีความหนาแน่นของประชากรมากกว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาเหตุมาจากประชากรมีการอพยพย้ายถิ่นฐานไปประกอบอาชีพในกรุงเทพมหานครเป็นจำนวนมาก

ประชากรกับปัญหาการเจริญเติบโต
การเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้มีการอพยพจากชนบทเข้าสู่ในเมือง เมื่อในเมืองมีจำนวนความหนาแน่นเพิ่มขึ้นก็จะก่อให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ ในเรื่องของจราจร มลพิษทางอากาศ ชุมชนแออัด เพื่อให้ชุมชนเมืองมีความหน้าอยู่และลดปัญหาที่เกิดขึ้นก็ขึ้นอยู่กับมนุษย์ที่จะช่วยกันดูแล ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
กราฟแสดงจำนวนประชากรในประเทศไทยปี 2550-2552


                          จำนวน(1000 คน)



กราฟแสดงให้เห็นว่าในปี 2550 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนประชากร21,385.7คนภาคกลาง15,409.6คน ภาคเหนือ11.871.9 คนภาคใต้ 8,654.8คน ปี 2551 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนประชากร21,442.7คน ภาคกลาง15,616.0คน ภาคเหนือ11,878.6คน ภาคใต้8,741.6คน ปี 2552 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนประชากร21,49.5คน ภาคกลาง15,742.5คน ภาคเหนือ11,770.2 คน ภาคใต้8,813.9คน สรุปว่าจำนวนประชากรในปี 2550-2552 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนที่มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ภาคกลางอันดับสอง ภาคเหนืออันดับสาม และภาคใต้มีจำนวนประชากรที่น้อยที่สุด

การกระจายตัวของประชากร
            การกระจายตัวของประชากรก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบางพื้นที่มีจำนวนประชากรหนาแน่น บางพื้นที่ก็มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่น้อยซึ่งประชากรจะมีการกระจายตัวกันอยู่ตามแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ หากพื้นที่ใดมีทรัพยากรธรรมชาติมากก็จะมีความหนาแน่นของประชากรอาศัยอยู่มาก ทรัพยากรที่ยังคงอยู่ได้ถูกใช้มากก็จะเริ่มสูญหายไป เพราะจำนวนประชากรมีมากกว่าทรัพยากร  และการกระจายตัวของประชากรพื้นที่ที่มีความหนาแน่นมากจะมีการดำรงชีวิตที่เป็นแบบการพึ่งตนเองอยู่ใครอยู่มันไม่สนใจกันอยู่แบบชุมชนเมือง พื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยมีการใช้ชีวิตที่พึ่งพาอาศัยกัน ใช้ชีวิตการเป็นอยู่แบบชุมชนชนบทที่ไม่แออัดวุ่นวาย




   อย่างไรก็ตามการกระจายตัวของประชากรทั้งในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นมากนและความหนาแน่นน้อย ยังคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิตและมนุษย์ควรจะช่วยกันใช้อย่างประหยัดเพื่อมีใช้ต่อไปในอนาคต

กราฟแสดงความหนาแน่นของประชากรทั่วราชอาณาจักไทยตั้งแต่ปี 2545- 2552  พบว่า 100% ในแต่ละปีเฉลี่ยแล้ว ปี2545มีความหนาแน่นของประชากร 12% ปี2546 มี13% ปี2547 มี12%  ปี2548 มี12% ปี 2549 มี12% ปี2550 มี13% ปี2551 มี13%  ปี2553มี13% จะเห็นได้ว่าจำนวนความหนาแน่นของประชากรทั่วราชอาณาจักรมีความหนาแน่นของประชากรใกล้เคียงกัน

สรุป
            จำนวนและความหนาแน่นในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแต่จะเพิ่มขึ้นอย่างคงที่และเกิดความหนาแน่นในเมืองเนื่องจากคนในชนบทย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในเมืองมากขึ้นและเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมตามมาและในอนาคตจำนวนการเพิ่มของประชากรจะเพิ่มช้าลงแต่จำนวนผู้สูงอายุจะมากขึ้น นั้นคือการเกิดจะน้อยลงผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอาจหมายถึงผู้สูงอายุจะมีอายุยืนมากขึ้นการเกิดลดน้อยลง ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในปัจจุบันที่มีน้อยลงด้วย จึงทำให้มนุษย์อยากที่จะมีบุตรน้อยลง จะเป็นผลดีต่อมนุษย์และรู้จักควบคุมการขยายตัวของประชากร และจะทำให้มีทรัพยากรใช้ในชีวิตประจำวันในอนาคต


แหล่งอ้างอิง
-        -สถาบันวิจัยประชากรและสังคม 2549 การฉายภาพประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2548 – 2568, มหาวิทยาลัยมหิดล.
 -สำนักงานสถิติแห่งชาติ มปป. สำมะโนประชากร
-สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย